เครื่องบินโบอิ้ง 737 ของฟ้าชายถูกอายัดที่สนามบินมิวนิค

 

แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล

เครื่องบินโบอิ้ง 737 พระราชพาหนะของมกุฎราชกุมาร วชิราลงกรณ์ ถูกอายัดที่สนามบินมิวนิคโดยเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินของบริษัทสัญชาติเยอรมัน       วอลเตอร์ บาว (Walter Bau AG) เครื่องบินลำดังกล่าวถูกยึดเนื่องมาจากข้อเรียกร้องทางการเงินต่อรัฐบาลไทย –ที่เจาะจงไปทีกรมทางหลวง — ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนี้ส่วนตัวของฟ้าชาย แต่อย่างใดอย่างก็ตาม เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ของบริษัทเยอรมันที่ว่านี้ ยึดเครื่องบินไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอาจมองได้ว่าเป็นการรุกเพื่อที่จะเร่งรัดให้ประเทศไทยจ่ายหนี้ที่ติดค้างไว้ เครื่องบินลำดังกล่าวในทางการแล้วเป็นของกองทัพอากาศไทย แต่สงวนเป็นการใช้ส่วนพระองค์สำหรับฟ้าชาย

หนี้ดังกล่าว มีที่มาจากการถือหุ้นของบริษัทวอลเตอร์ บาว จำนวน 10เปอร์เซ็นต์ในบริษัททางยกระดับดอนเมืองซึ่งสร้างและดำเนินการทางด่วนยกระดับจากตัวเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นอดีตสนามบินนานาชาติของกรุงเทพฯ บริษัทวอลเตอร์ บาวได้ล้มละลายในปี 2548 และเจ้าหน้าที่ที่ที่พยายามเร่งรัดหนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ได้เรียกร้องสินไหมต่อประเทศไทยสืบเนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขของข้อสัญญาในการสร้างทางด่วน และการปฏิเสธการขึ้นค่าทางด่วนที่ต้องจ่ายโดยพาหนะผู้ใช้ถนนดังกล่าวซึ่งถูกมองว่าเป็นสาเหตุให้ทำให้โครงการดังกล่าวขาดทุน

ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมทั้ง 1.98 ล้านยูโรเป็นค่าละเมิดสัญญาการตัดสินใจ และความเป็นมาที่เป็นปัญหาของโครงการทางยกระดับสนามบินดอนเมืองสามารถอ่านได้ที่นี่ นับเป็นหนึ่งในตำนานว่าด้วยเรื่องความไม่มีประสิทธิภาพและคอร์รัปชั่นของราชการคณะอนุญาโตตุลาการได้พบว่าการลดค่าทางด่วนในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิน ชินวัตร ที่ประกาศใช้ในปี 2547 เป็นการละเมิดข้อตกลงกับวอลเตอร์ บาว และเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการประกาศผลตัดสินนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าว และสัญญาว่าจะต่อสู้กลับโดยทำในสิ่งที่นักการเมืองไทยทุกคนทำเมื่อเกิดปัญหานั่นคือตั้งคณะกรรมการเพื่อฝังกลบประเด็นดังกล่าวด้วยระบบราชการที่ยืดยาดและไม่มีวันจบสิ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม โสภณ ซารัมย์ กล่าวหาบริษัทเยอรมันดังกล่าวว่าใช้ “วิธีที่สกปรก”

เนื่องจากค่าชดเชยที่คณะอนุญาโตตุลาการสั่งให้จ่ายยังไม่ได้รับการชำระผู้ตรวจการทางการเงินของเอาส์เบอร์ก (Ausburg) แวร์เนอร์ ชไนเดอร์ (Werner Schneider) ซึ่งดูแลเรื่องการล้มละลายของวอลเตอร์ บาว ตัดสินใจจะทำการยึดเครื่องบินลำดังกล่าวเพื่อเป็นมาตรการบังคับให้ประเทศไทยจ่ายหนี้ที่ค้างชำระ โฆษกของเขาได้ยืนยันว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกอายัดแล้วรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวสามารถดูได้จากเว็บไซต์ไฟแนนเชียลไทมส์ของเยอรมนี ไฟแนนเชียลไทมส์กล่าวว่าการยึดเครื่องบินลำดังกล่าวต้องวางแผนด้วยความระมัดระวังเนื่องจากฟ้าชายได้บินไปยังหลายสนามบินในประเทศเยอรมนีในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเช่น เดรสเดน ซาร์บรุ๊คเคน นูเรมแบร์ก และเบอร์ลิน-เทเกล นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ได้ไปเยี่ยมโรงงานทำพอร์ซเลนในเดรสเดนพร้อมคณะผู้ติดตามอีก 40 คน ทั้งนี้ ฟ้าชายไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเรื่องการยึดเครื่องบินดังกล่าว

ดังเช่น เอริค จี. จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เขียนในโทรเลขลับทางการทูตว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2552 วชิราลงกรณ์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในประเทศเยอรมนี

ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ (มากถึง 75%) ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาอยู่ในยุโรป (ส่วนใหญ่ ณ วิลล่าแห่งหนึ่งในสปาทางการแพทย์ที่ห่างจากมิวนิค 20 กิโลเมตร) กับนางสนมคนล่าสุดและสุนัขตัวโปรด ฟูฟู เชื่อกันว่าวชิราลงกรณ์น่าจะป่วยเป็นโรคทางเลือด พระ-ชายาองค์ปัจจุบัน (คนที่สาม) หม่อมศรีรัศม์ และโอรสอายุ 4 พรรษา ที่รู้กันในชื่อองค์ที อาศัยอยู่ในวังสุโขทัยในกรุงเทพฯ แต่เมื่อวชิราลงกรณ์เดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ พระองค์ก็ไปอยู่กับนางสนมคนที่สองในเลานจ์ของกองทัพไทยที่ตกแต่งใหม่ ณ ปีกที่หก สนามบินดอนเมือง (ข้อสังเกต: นางสนมทั้งสองคนของฟ้าชายเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ฟ้าชายได้เปลี่ยนเครื่องบินจาก F5s มาเป็นเครื่องโบอิ้งของการบินไทย และแอร์บัส ในช่วงปีที่ผ่านมา) เนื่องจากอารมณ์ที่ปรวนเปรและคาดเดาไม่ได้ของพระองค์ที่รู้จักกันดี ฟ้าชายจึงมีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถอยู่ในวงล้อมที่ใกล้ชิดกับพระองค์ได้

ฟ้าชายทรงขับขี่เครื่องบินส่วนตัวโบอิ้ง 737 ในการเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีดังปรากฏให้เห็นอย่างบ่อยครั้งในเว็บไซต์ planespotter

เนื่องด้วยชื่อเสียงของวชิราลงกรณ์เรื่องอารมณ์ที่รุนแรง เป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยและเยอรมันคงต้องพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ฟ้าชายมีประวัติเรื่องหายนะทางการทูตมาแล้ว โดยในเดือนกันยายนปี 2530 พระองค์ได้เสด็จไปยังประเทศญี่ปุ่น และก่อนที่จะเดินทางพระองค์เรียกร้องว่าจะให้นางสนมเดินทางไปด้วยกันด้วยสถานะที่เป็นทางการ แทนที่จะเป็นพระชายาของพระองค์รัฐบาลญี่ปุ่นจึงปฏิเสธเนื่องด้วยเหตุผลธรรมเนียมทางการทูต และเมื่อพระองค์ไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วสถานการณ์กลับแย่ลงกว่าเดิม ดังที่บาร์บาร่า โครเส็ตต์รายงานในเดอะนิวยอร์คไทมส์ว่า

หายนะทางการทูตนี้เป็นที่รู้กันอย่างระเบิดระเบ้อในโตเกียวและกรุงเทพฯ ในเรื่องที่หนังสือพิมพ์ไทยมองว่าเป็น “ข้อผิดพลาดเล็กน้อย” ของฟ้าชาย, นักบินและผู้บังคับบัญชาพลตรี ผู้ซึ่งควบคุมกรมทหารของตนเอง, ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่น

คนขับรถชาวญี่ปุ่นที่ขับรถของฟ้าชาย หยุดรถอย่างกะทันหันที่จุดพักบนทางด่วนเพื่อขอหยุดพัก โดยเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า คนขับรถดังกล่าว รู้สึกไม่สบายและจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวคนขับ และอีกสถานการณ์หนึ่ง ก็มีการกล่าวกันว่าฟ้าชายถูกให้นั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมและถูกบังคับให้เอื้อมไปหยิบเชือกที่อยู่บนพื้นเพื่อเปิดพิธีของอนุสาวรีย์ ปรากฏว่าฟ้าชายเสด็จกลับประเทศไทยเร็วกว่ากำหนดสามวันและทิ้งวิกฤติการณ์ทางการทูตไว้เบื้องหลัง

ฟ้าชายได้แก้แค้นคืนเก้าปีหลังจากนั้น โดยในปี 2539 พอล แฮนด์ลีย์เขียนใน เดอะคิง เนเวอร์ สไมลส์ งานวิชาบุกเบิกว่าด้วยชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

ในวันที่ 1-2 มีนาคม ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและยุโรป การจัดประชุมครั้งนี้เป็นตัวที่เชิดชูสถานะของประเทศไทยเป็นอย่างมาก และพระมหากษัตริย์ก็ได้จัดการให้มีงานเลี้ยงต้อนรับสำหรับประธานาธิบดีและผู้นำประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม ฟ้าชายได้ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เรียวตาโร ฮาชิโมโตะ ที่ต่างไป
เมื่อเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของนายกฮาชิโมโตะ จอดลงที่สนามบินดอนเมืองในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ก่อนที่เครื่องบินจะได้จอดลงยังพรมแดงเพื่อทอดบันได แต่เครื่องเจ็ตดังกล่าวกลับถูกขวางทางอย่างโจ่งแจ้งด้วยเครื่องบินเจ็ต F-5 สามเครื่องที่ควบคุมโดยฟ้าชาย และบรรดาช่างภาพ ณ จุดต้อนรับถูกบังคับให้เอากล้องถ่ายรูปลงในขณะที่ฟ้าชายเอาคณะผู้แทนจากญี่ปุ่นเป็นตัวประกันในบริเวณรันเวย์เป็นเวลา 20 นาที ก่อนที่จะแยกกัน เป็นที่เห็นได้ชัดว่าฟ้าชายได้ทำการแก้แค้นต่อสิ่งที่อ้างว่าเป็นการต้อนรับที่ไม่เหมาะสมของญี่ปุ่นเมื่อเขาได้เสด็จเยือนญี่ปุ่นในปี 2530  ในตอนนั้น รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นขายหน้าเป็นอย่างมากและทางญี่ปุ่นเองก็ปฏิบัติแบบทูตโดยปล่อยให้เหตุการณ์เกิดโดยไม่ประท้วงหรือให้ความคิดเห็นใดๆ

โทรเลขของสหรัฐอีกฉบับหนึ่งให้ข้อมูลว่าทริปที่วางแผนไปประเทศจีนของวชิราลงกรณ์ถูกยกเลิก เนื่องจากข้อเรียกร้องให้มีการเตรียมการพิเศษ:

ทริปที่มีกำหนดเดินทางโดยฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ์ในต้นปีนี้ถูกเลื่อนออกไป ฟ้าชาย “พิโรธ” มากที่เขาถูกปฏิเสธคำขอสำหรับ “การปฏิบัติพิเศษแบบวีไอพี” ในขณะเสด็จเยือนประเทศจีน นี่เป็นการเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งแรกของพระองค์ในขณะที่น้องสาวของพระองค์ฟ้าหญิงสิรินธรได้เสด็จประเทศจีนหลายครั้งแล้วและพูดภาษาจีนได้คล่องแคล่วด้วย

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าฟ้าชายจะพบว่าการยึดเครื่องบินของเป็นเรื่องที่น่าโมโหโทสะอย่างที่ไม่ได้ล่วงรู้มาก่อน คำถามตอนนี้คือว่าพระองค์จะมีปฏิกิริยาอย่างไรและเจ้าหน้าที่ของไทยจะมีวิธีการรับมือปัญหาดังกล่าวได้รวดเร็วเพียงใด