เรื่องเล่าของสองคุณปู่ผู้ชราภาพ

Many thanks to “AnonymousSiam” for translation.

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 คุณปู่วัย 62 ปี คนหนึ่งต้องเสียชีวิตในโรงพยาบาลภายในเรือนจำของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งปี หลังถูกตัดสินโทษจำคุก 20 ปี ในข้อกล่าวหา ส่งข้อความ SMS หมิ่นสถาบันกษัตริย์ของไทยสี่ข้อความ

เขาเสียชีวิตอย่างเดียวดาย ไร้ซึ่งภรรยา นางรสมาลิน ลูก และหลานๆ อยู่เคียงข้าง นายอำพล ตั้งนพคุณ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ในชื่อ “อากง” ซึ่งแปลว่า คุณปู่ กลายเป็นเหยื่อของกฎหมายที่คร่ำครึ และไม่เป็นธรรมอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชาณุภาพ และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ มาตรา 112 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

นายอำพลถูกตัดสินเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี สำหรับการส่งข้อความ SMS แต่ละครั้ง เขายืนยันความบริสุทธิของตนเอง ตลอดการดำเนินคดี และจนถึงปัจจุบัน

เขาให้การต่อผู้พิพากษาว่า เขาไม่รู้วิธีส่งข้อความ SMS และครอบครัวของเขาก็ยืนยันเช่นนั้น

ข้อความดังกล่าวถูกส่งไปให้นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาประจำตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสมเกียรติ นำข้อความดังกล่าวไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กระบวนการไต่สวน ไม่สามารถอธิบายได้ว่า นายอำพล มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติได้อย่างไร นอกจากนั้น หมายเลขที่ส่งข้อความ ก็ไม่ใช่หมายเลขโทรศัพท์ของนายอำพล แต่กระบวนการไต่สวนกลับกล่าวหาว่า ข้อความดังกล่าวถูกส่งมาจากโทรศัพท์มือถือ ที่มีหมายเลข IMEI เดียวกับของนายอำพล ผู้พิพากษาไม่สนใจหลักฐานที่แสดงว่า หมายเลข IMEI สามารถลอกเลียนแบบได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง ในความซับซ้อนของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

นายอำพลถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เขาถูกกักตัวไว้ 63 วัน จนได้รับการประกันตัวในวันที่ 4 ตุลาคม 2553 ในวันที่ 18 มกราคม 2554 เขาถูกตั้งข้อกล่าวหา และถูกจองจำ จนกระทั้งวันที่เขาสิ้นชีวิต

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ได้แสดง ความเป็นห่วงอย่างลึกซึ้ง ในเรื่องการรักษาพยาบาลของเขา

ในขณะนี้ สาเหตุการตายของนายอำพลยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด (อยู่ระหว่างการผ่าพิสูจน์) แต่ในขณะที่ถูกตัดสิน เขายังป่วยด้วยโรคมะเร็งกล่องเสียง ซึ่งการคุมขัง ทำให้เขาต้องขาดจากการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม

ได้มีการนำเสนอข่าว การตายของเขาอย่างกว้างขวาง ทั้งในสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ:

คดีนี้มีปัญหาที่น่าเป็นห่วงด้วยเหตุผลสองประการ

ประการแรก กระบวนการไต่สวน ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ข้อความดังกล่าว ถูกส่งโดยนายอำพล เขายืนยันเสมอว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ เขาและพยานปากอื่นๆ ให้การกับศาลว่า เขาไม่รู้วิธีการส่งข้อความ SMS ด้วยซ้ำ และผู้พิพากษาอ้างถึงคำให้การดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ในคำตัดสิน (จากเว็บไซต์ iLaw) ดังนี้

สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได แต่จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6 ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็นในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 เท่านั้นจึงปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่นแต่จากการทดสอบแล้วไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน

ยังไม่มีใครรู้ว่า ใครเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าว แต่เป็นไปได้ยากมากที่จะเป็นนายอำพล

ประการที่สอง ถึงแม้ว่า ข้อความดังกล่าว ใช้ภาษาและคำพูด ที่ก้าวร้าว แต่การตัดสินโทษจำคุก 20 ปี นั้น ยังต้องมีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้น ถึงความเหมาะสมของโทษนี้ ในประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ อย่างที่ประเทศไทยอ้างว่าเป็น

ข้อความที่ส่ง พุ่งเป้าไปที่ราชินีสิริกิติ ภรรยาวัย 79 ปีของกษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดช สิริกิตขึ้นชื่อในเรื่องมุมมองที่เป็นเผด็จการแบบสุดโต่ง และมีส่วนเข้าไปแทรกแซงการเมืองไทยมาหลายทศวรรษ แม้ว่า โดยทางการแล้ว ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งวังมีบทบาทในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

สิริกิติ และภูมิพล มีความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกันมาตั้งแต่ราวๆ ปี 2528 ถึงแม้ในประเทศไทย ข้อเท็จจริงนี้จะไม่เป็นที่ทราบในทางสาธารณะ โทรเลขของสหรัฐที่รั่วออกมา เมื่อปี 2552 รายงานว่า:

ก่อนกลางปี 2551 กษัตริย์ และราชินี ใช่ชีวิตส่วนใหญ่ แบบแยกกันอยู่ ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นในการปรากฎตัวต่อสาธารณะ ความจริงที่ถูกปิดบังนี้ เริ่มขึ้นหลังจากที่ราชินี หายตัวไปจากสายตาของสาธารณะเมื่อปี 2529 เกือบ 6 เดือน เพื่อฟื้นฟูสภาพเหนื่อยล้าของจิตใจ จากการที่กษัตริย์ ปลดนายทหารเสือคู่ใจออกจากตำแหน่ง และหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ในวงเครือญาติ ก็แตกระแหงอย่างรุนแรง โดยเหลือเพียงไม่กี่คนที่สามารถเข้าได้กับทั้งสองฝ่าย

ความร้าวฉานระหว่างภูมิพล และสิริกิติ มีมูลเหตุมาจาก ความสัมพันธ์อย่างเปิดเผยของราชินีกับทหารเสือคู่ใจ พันโทณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช แต่ทั้งคู่ก็มึความไม่ลงรอยกันอยู่ก่อนแล้ว ในเรื่องการปกครอง และการสืบราชสมบัติ ทั้งภูมิพล และสิริกิติเชื่อว่า วังควรมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการเมืองในประเทศไทย แต่ในขณะที่กษัตริย์ นิยมวิธีแบบเล่นอยู่เบื้องหลังเงียบๆ คอยกล่าวสุนทรพจน์เมื่อสถาบันต้องมีบทบาท ราชินีกลับระมัดระวังน้อยกว่ามาก และดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างออกหน้าออกตา นอกจากนั้น (จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้) สิริกิติยังยืนกรานที่จะให้รัชทายาทที่ถูกลืม และก้าวร้าวอย่าง ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ต่อจากภูมิพล โดยไม่สนใจเสียงทัดทานของภูมิพล

ถึงกระนั้น ระหว่างปี 2550 ถึง 2551 ก็ต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้สืบราชสมบัติใหม่แบบถอดราก สิริกิติต้องยอมจำนนต่อวชิราลงกรณ์ในที่สุด หลังจากมีวีดีโอฉาววันเกิดแบบพิศดารของสุนัขสุดรักของเขา ฟูฟู ในวีดีโอ ศรีรัตน์ ภรรยาคนที่สามของเขา หมอบอยู่บนพื้นแบบเปลือยเปล่าเหลือเพียงชุดชั้นในชิ้นล่าง หลังจากนั้นฟ้าชายทิ้งศรีรัตน์ไป เพื่อใช้เวลาส่วนใหญ่ในเยอรมนี พร้อมด้วยอนุภรรยาคนใหม่ ระหว่างรับการรักษาโรคที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดังเช่นปรากฎในโทรเลขลับของสหรัฐเมื่อปี 2552:

เป็นเวลาหลายปีที่ราชินีสิริกิติสนับสนุนความสนใจในตัวฟ้าชายวชิราลงกรณ์อย่างแข็งขัน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่สำคัญ ในสายตาของอีกฝ่ายอย่างฟ้าหญิงสิรินทร ซึ่งเป็นที่พึงพอใจอย่างกว้างขวางในทางสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น ราชินีเป็นแรงเคลื่อนที่สำคัญเบื้องหลังฟ้าชายในการเยือนวอชิงตันเมื่อปี 2546 เธอตั้งใจอย่างมากที่จะปรับภาพลักษณ์ในสายตาของคนไทย ให้สามารถยอมรับกับกษัตริย์ในอนาคตได้ บุรุษที่เพิ่งแต่งงานใหม่ และจะมีบุตรไว้สืบสกุลต่อในไม่ช้า

ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกเปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ ในปี 2550 เนื่องมาจากสองเหตุผล: การปรากฎของวีดีโอ และภาพนิ่งของศรีรัตน์ ภรรยาวชิราลงกรณ์ ในชุดเปลือย ทั้งบนอินเตอร์เนต ซีดี และกระจายไปทั่วทั้งกรุงเทพ กับปัญหาที่ดังขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างที่ฟ้าชายใช้ชีวิตอยู่นอกประเทศไทย ในปี 2551 ราชินีและฟ้าชายมีปากเสียงกันกลางโรงพยาบาล ระหว่างราชินีรับฟังสรุปคำวินิจฉัย โดยฟ้าชายด่าว่าเธอด้วยความโกรธแค้น ต่อหน้านางกำนัล หลังจากนั้น นางกำนัลหลายคนปฏิเสธที่จะเข้ารับใช้ ถ้าฟ้าชายเข้าพบราชินี

ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ (เกือบ 75%) ในสองปีหลังอยู่ในยุโรป (หลักๆ จะพักที่บ้านพักตากอากาศ ในสปาบำบัด 20 กิโลเมตรนอกเมืองมิวนิค) กับอนุภรรยาหลัก และสุนัขสุดรัก ฟูฟู วชิราลงกรณ์อาจจะป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับเลือด (หลายแหล่งข่าวอ้างว่า เขาติดเชื้อเอดส์ หรือไวรัสตับอักเสบซี หรือ “โรคมะเร็งเลือด” ที่พบได้ยาก หรือรวมๆ กัน ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือดเป็นประจำ) ภรรยา(คนที่สาม)คนปัจจุบัน ศรีรัตน์ และลูกชายวัย 4 ขวบที่รู้จักกันในชื่อ องค์ที พักอยู่ในพระราชวังสุโขทัยของเขา ในกรุงเทพ แต่เมื่อวชิราลงกรณ์กลับมากรุงเทพ เขาจะพักอยู่กับอนุภรรยาคนที่สอง ในห้องพักรับรองพิเศษของกองทัพอากาศ ทางปีกหก สนามบินดอนเมือง (หมายเหตุ: อนุภรรยาทั้งสองคน เป็นพนักงานต้อนรับของการบินไทย ฟ้าชายเปลี่ยนจากการขับเครื่องบินเอฟ5เอส มาเป็นเครื่องบินโบอิ้งและแอร์บัส ของการบินไทย เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จบหมายเหตุ) เป็นที่รู้กันมานานถึงความก้าวร้าว และอารมณ์ที่แปรปรวน ทำให้มีไม่กี่คนที่สามารถอยู่วงในของฟ้าชายได้นาน

ความไม่ลงรอยกันระหว่างสิริกิติ และวชิราลงกรณ์ เป็นตัวเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิงในสมการการเมืองของประเทศไทย แทนที่จะสนับสนุนลูกชายของตนเองขึ้นครองราชหลังจากที่ภูมิพลเสียชีวิต สิริกิติตัดสินใจว่าควรอยู่ในอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทน ในนามลูกคนเล็กของฟ้าชายกับศรีรัตน์ หลังจากที่กษัตริย์เสียชีวิต โดยวชิราลงกรณ์จะถูกกีดกันออกจากการขึ้นครองราช ผู้นำฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างเปรม ติลสูลานนท์ และอานัน ปันยารชุนเกลียดวชิราลงกรณ์มานานแล้ว และเชื่อ (จริงๆ) ว่า ถ้าเขากลายเป็นกษัตริย์ มันจะหมายถึงจุดจบของวัฒนธรรม “เครื่องข่ายอำมาตย์” ในประเทศไทย พวกเขาเป็นพันธมิตรกับสิริกิติ และพยายามเคลื่อนให้เธอเข้าสู่อำนาจหลังการเสียชีวิตของภูมิพล ซึ่งจะนำไปสู่มิติใหม่ของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผู้นำที่ได้รับความนิยมอย่าง ทักษิณ ชินวัตร เป็นพันธมิตรกับวชิราลงกรณ์ ทำให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมมีความพยายามอย่างแน่วแน่กว่าเดิม ที่จะทำลายบทบาททางการเมืองของเขา พวกเขากลัวว่า ถ้ารัฐบาลที่ชี้นำโดยทักษิณมีอำนาจอยู่ ในขณะที่ภูมิพลเสียชีวิต พวกเขาจะไม่มีทางขวางการขึ้นครองราชของวชิราลงกรณ์เป็นราชกาลที่ 10 ได้ (เป็นเรื่องน่าประหลาด ที่ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และทายาทราชสมบัติของเขาพังลงมาหลายสิบปีแล้ว แต่ตอนนี้เขาดูเหมือนจะอยากให้วชิราลงกรณ์ขึ้นครองราชต่อ เป็นการเปลี่ยนจุดยืนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ระหว่างภูมิพลและสิริกิติ)

ตั้งแต่ปี 2550 สิริกิติเริ่มยื่นมือเข้ามาขัดขวางทักษิณ และสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคลั่งเจ้าขวาจัดอย่างเสื้อเหลือง ตามรายงานโทรเลขลับของสหรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551:

สภาพแนวรบทางการเมืองของทักษิณถูกขีดขึ้นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีผู้เล่นหลายคนเข้าร่วม…เครื่องยนต์ทักษิณต้องเจอกับกลุ่มผสมระหว่าง กษัตริย์นิยม ชนชั้นกลางกรุงเทพ และคนจากภาคใต้ โดยมีราชินีสิริกิติโผล่ออกมาร่วมในแนวรบ เพราะบทบาทของกษัตริย์ภูมิพลลดลงไปมาก…พวกเขาทั้งสองข้าง กำลังวางตำแหน่งตัวเล่นหลักของฝ่ายตนเอง ในจุดที่ว่างอยู่กับเราในทางลับ มันจะเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความจริง หลังจากที่กษัตริย์สวรรคต

ในวันที่ 13 ตุลาคม 2551 ราชินีสิริกิติละทิ้งการเสแสร้งว่าอยู่เหนือการเมืองทุกอย่าง เมื่อเธอเข้าร่วมในงานศพของอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ “น้องโบว์” หนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมเสื้อเหลืองที่เสียชีวิต ในการปะทะกัน ระหว่างตำรวจ และผู้ชุมนุมต่อต้านทักษิณ ที่พยายามขัดขวางการเข้าทำงานของรัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม ดังหมายเหตุของทูตสหรัฐ:

ราชินีสิริกิติ ได้ละทิ้งตัวอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทำมาตลอดหลายสิบปี ด้วยการลากสถาบันกษัตริย์ที่มีภาพของการอยู่เหนือการเมือง ให้เข้าสู่ความอลม่านทางการเมือง ทำให้อนาคตของสถาบันอยู่ในอันตราย…

ราชินีสิริกิติ แสดงออกทางการเมืองอย่างชัดเจน ผิดธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิม โดยการเข้าร่วมงานศพของผู้ชุมนุมพันธมิตรรากหญ้าคนหนึ่ง ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างการปะทะกันของกลุ่มพันธมิตรและตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แม้กระทั่งคนใกล้ชิดของราชินีบางคน ยังออกมาแสดงความกังวลในการแสดงออกทางการเมืองที่มากเกินไป เนื่องจากมันไปทำลายหลักการที่กษัตริย์พยายามส่งเสริมมานาน คือ การอยู่เหนือการเมืองของสถาบัน หลังจากการปรากฎตัวของราชินี กระแสของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทางสาธารณะ โดยส่วนใหญ่มีเป้าหมายพุ่งตรงไปยังตัวราชินี

การเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองของสถาบันกษัตริย์ดังกล่าวในเวลาเช่นนี้ เพิ่มความไม่แน่นอนให้กับการสืบราชสมบัติมากขึ้นในท้ายที่สุด และมันอาจเป็นลูกศรที่ย้อนกลับมาทำร้ายเหล่ากษัตริย์นิยม เมื่อเวลาในการกำหนดบทบาทใหม่ของสถาบันกษัตริย์มาถึง หลังจากสิ้นองค์กษัตริย์

การเอื้อมมือเข้ามายุ่งการเมืองอย่างไม่มีท่าของสิริกิติ ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสม ในกระทำของเธอ และของสถาบันกษัตริย์ มันเป็นข้อพิสูจน์สุดท้ายสำหรับคนไทยหลายคนว่า วังเป็นศัตรูของพวกเขา ไม่ใช้ผู้คุ้มภัย โดยมีการโจมตีสิริกิติอย่างหนักบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นการตอบโต้ เหล่าผู้นำทหารที่อยู่ฝ่ายสิริกิติ เข้าปราบปรามกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ดังปรากฎในโทรเลขของสหรัฐ:

การวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชินีสิริกิติ ทั้งบนโลกออนไลน์ และในทางสาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเร็วๆ นี้…
การเพิ่มขึ้นของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ความถี่ของการแสดงความคิดเห็นต่อคดีหมิ่น และความเข้มงวดในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ชี้ให้เห็นว่า บางภาคส่วนของสังคมมีความไม่พอใจอย่างมาก ต่อพฤติกรรมของสมาชิกบางคนในครอบครัวเจ้า หรือแม้กระทั้งตัวสถาบันเอง ถ้าหน่วยงานของรัฐปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์อย่างหนักหน่วง อาจส่งผลในทางตรงกันข้าม เพราะการปิดปากคนหลายๆ กลุ่ม อาจทำให้การนินทาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าบางคน เปลี่ยนเป็นการตั้งคำถามอย่างมีนัยยะ ต่อบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ภายหลังการเสียชีวิตของกษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นที่รัก

ทั้งหมดคือเบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของการกระทำที่เป็นศัตรูต่อสิริกิติในประเทศไทย เธอกลายเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจสำหรับคนไทยหลายคน โทรเลขของสหรัฐรายงานถึงป้ายโฆษณาที่โจมตีสิริกิติ ทั่วทั้งภาคใต้ของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2552 และมีการทำลายรูปของราชินีในจังหวัดทางภาคอิสานด้วย นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ถูกแพร่กระจายไปบนโลกออนไลน์ (ยังไม่ยืนยัน) เกี่ยวกับการครอบครองเพรชสีน้ำเงินของสิริกิติ ที่ถูกขโมยมาจากราชวงศ์ซาอุดิอารเบีย โดยคนงานชาวไทยในปี 2532 โดยไม่เสียอะไรเลย (ผมเขียนเรื่องราวดังกล่าวไว้ ที่นี่)

ข้อความ SMS ทั้งสี่ข้อความที่ถูกใช้กล่าวหาว่า ส่งโดยนายอำพล ตั้งนพคุณ ก็มีใจความในประเด็นเหล่านี้ ใครก็ตามที่เป็นคนส่ง มีความไม่พอใจอย่างมาก กับพฤติกรรมของราชินีสิริกิติ เช่นเดียวกับคนไทยอีกหลายคน เนื้อหาของข้อความไม่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะจนกระทั่งเร็วๆ นี้ และมีใจความดังแสดงไว้ด้านล่าง พร้อมกับคำแปลภาษาพูด เป็นอังกฤษ ข้อความทั้งหมดถูกนำมาจากเอกสารของศาล โดยสามารถดู ในรูปแบบ PDF ได้ที่นี่:

  • ข้อความแรก 9 พฤษภาคม 2553 – ขึ้นป้ายด่วน อีราชินีชั่วมันไม่ยอมเอาเพชรไดรมอนด์ไปคืนซาอุฯ ราชวงศ์หัวควยมันพังแน่
  • ข้อความที่สอง 11 พฤษภาคม 2553 – อีราชินีชั่ว อีหีเหล็ก มึงแน่จริงมึงส่งทหารเหี้ยๆ มาปราบพวกกูซิวะ โคตรอีดอกทอง ชั่วทั้งตระกูล
  • ข้อความที่สาม 12 พฤษภาคม 2553 – สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวควย อีราชินีหีเหล็ก ไอ้อีสองตัวนี้มันบงการฆ่าประชาชน ต้องเอาส้นตีนเหยียบหน้ามัน
  • ข้อความที่สี่ 22 พฤษภาคม 2553 – ช่วยบอกไอ้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวควยกับอีราชินีหีเหล็ก และลูกหลานของมันทุกๆ คนต้องตาย

ข้อความทั้งหมดรุนแรง เต็มไปด้วยความเคียดแค้น เนื้อหาของมันคงทำให้คนไทยหลายคนตกใจ ไม่ว่าพวกเขาจะมีมุมมองกับสถาบันกษัตริย์อย่างไร ไม่มีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า ข้อความถูกส่งโดยนายอำพล และไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นคนส่ง คำถามที่ว่า พวกเขาควรถูกตัดสินให้จำคุก 20 ปี ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย ของศตวรรษที่ 21 หรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ต้องถกเถียงกันอย่างหนัก

ตัวภูมิพลเองยังคงบาดหมางกับสิริกิติ และตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 เขามีชีวิตอยู่ภายในโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำที่ไหลผ่านกรุงเทพ อย่างเจ้าพระยา และปฏิเสธที่จะกลับบ้าน ภายในพระราชวัง แม้ว่าหมอประจำตัวจะอนุญาตให้ทำได้ เห็นได้ชัดว่าสุขภาพร่างกายของเขากำลังแย่ลง แต่สุขภาพทางใจของเขาต่างหาก ที่เป็นเรื่องกังวลของชนชั้นนำไทย ดังเช่นแกนนำของผู้นิยมเจ้าอย่าง อานัน ปันยารชุน ที่บอกกับทูตสหรัฐ ราล์ฟ “สกิป” บอย์ช ในปี 2547:

อานันกล่าวว่า เขาเป็นห่วงสุขภาพทางร่างกายของกษัตริย์น้อยกว่า ความสามารถของกษัตริย์ที่จะรับฟังคำแนะนำ และได้ประโยชน์จากกลุ่มคนใกล้ชิด อานันท์กล่าวว่า กว่าครึ่งของคนที่ทำงานในวังต้องการเพียงแค่สถานะ และอิทธิพลทางสังคม มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่อุทิศตนให้กษัตริย์ เขากล่าวว่า กษัตริย์ทรงโดดเดี่ยว และเกือบตลอดเวลา เขาไม่สามารถเลือกได้ว่าบุคคลใดที่เขาจะใช้เวลาร่วมด้วย

ในเดือนตุลาคม 2549 สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม ผู้เต็มไปด้วยเรื่องคดโกง ของพรรคประชาธิปัตย์ บอกกับทูตสหรัฐว่า ภูมิพลมีอาการป่วยทางใจ:

เมื่อจับหน้าผากของเขา สุเทพอ้างว่า สุขภาพทางกายของกษัตริย์ปกติดี แต่ที่ทำให้เป็นห่วง คือสุขภาพทางใจของเขา ซึ่งถูกกดดันจากสถานะของอาณาจักรอันเป็นที่รักของเขา หลังจากที่เขาจากไป

ชาวต่างชาติคนหนึ่งที่อาศัยมานานในไทยสังเกตเห็นในสิ่งเดียวกัน และรายงานไว้ในโทรเลขที่รั่วออกมา ของสหรัฐ:

เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่มีทางเลย ที่ใครจะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องถึงความรู้สึกในใจของกษัตริย์ หรือหาข้อสรุปที่แน่นอนระหว่างพัฒนาการทางการเมือง ความเป็นไปได้ของความเครียดทางอารมณ์ และความเจ็บป่วยทางกาย อย่างไรก็ตาม นักสังเกตุการณ์คนหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในไทยมานาน ตั้งแต่ปี 2498 อ้างกับเราเสมอตลอดปีที่ผ่านมาว่า กษัตริย์แสดงอาการพื้นฐานของโรคซึมเศร้า – “มันก็ควรเป็นเช่นนั้น เมื่อต้องเห็นสิ่งที่เกิดในอาณาจักรของเขา หลังครองราชมา 62 ปี ในบั้นปลายของชีวิต” – และอ้างว่า เพราะความทุกข์ทางใจนั่นแหละ ที่ส่งผลต่อสุขภาพทางกายของเขา

ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ทูตสหรัฐนายอีริค จี จอห์นเขียนเกี่ยวกับภูมิพลว่า:

เนื่องจากหลายสาเหตุเริ่มต้นมานานจากโรคพาคินสัน โรคซึมเศร้า และอาการปวดหลัง

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และภรรยาของเขา รวมถึงลูกๆเกือบทั้งหมดถูกทำให้แย่ลง มีเพียงลูกสาวคนที่สอง สิรินธร ที่ยังคงใกล้ชิดกับเขา ความเคารพนับถือที่กระจายไปอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย มาเป็นเวลานาน เริ่มเสื่อมลง ดังเช่นนายอำพล เขาดูเหมือนถูกกำหนดให้ตายอย่างโดดเดี่ยวด้วยใจที่แตกสลาย อีกหนึ่งเหยื่อผู้โชคร้ายภายใต้คำสาปของกลุ่มคนคลั่งเจ้าในประเทศไทย