กรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ จากบันทึกของ เคนเน็ธ แล็งดอน

Many thanks to Tiger for translating. The English-language version is here.

เคนเน็ธ และมากาเร็ต แล็งดอน คือคู่สามีภรรยาที่มีชีวิตอันน่าทึ่ง พวกเค้าเป็นคู่รักที่หวานชื่นนับตั้งแต่วัยเรียนมหาวิทยาลัย แต่งงานกันในปี 1926/2469 และถูกส่งมาที่สยาม ในปี 1927/2470 ในฐานะมิชชันนารี แห่งคณะเพรสไบทีเรียน หลังจากเรียนภาษาไทยที่กรุงเทพเป็นเวลา 1 ปี ทั้งคู่ ก็มุ่งหน้าลงใต้ลงหลักปักฐานที่ จ.ตรังดูแลโรงเรียนคริสต์อยู่เป็นเวลากว่าทศวรรษ ก่อนที่จะเดินทางกลับสหรัฐ เคนเนธ แล็งดอน ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ สถานศึกษา ระดับหัวกะทิ และในปี 1939/2482 นี่เอง เค้าก็ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาหนึ่งเล่มเกี่ยวกับประเทศไทยในชื่อว่า Siam in Transition: A Brief Survey of Cultural Trends in Five Years since the Revolution of 1932 หรือ สยามในการเปลี่ยนผ่าน: สำรวจกระแสวัฒนธรรมในช่วง 5 ปีหลังปฏิวัติ 2475

ปี 1941/2484 สงครามกับญี่ปุ่นใกล้เข้ามา เคนเน็ธ แล็งดอน ได้รับการว่าจ้างโดย พันเอก วิลเลียม โจเซฟ โดโนแวน ผู้มีฉายา Wild Bill – บิล จอมโหด แล็งดอนได้รับ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับหน่วยงานที่พึ่ง ตั้งขึ้นใหม่ ของสหรัฐ สำนักงานประสานงานข้อมูล (the Office of Co-ordinator of Information) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (the Office of Strategic Service) หรือในชื่อย่อ O.S.S. ที่คนไทยในยุคสงครามเย็น รู้จักกันดี หน่วยงานนี้นี่เองก็ได้กลายมาเป็น สำนักงานข่าวกรองกลาง หรือ CIA ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ในปี 1943/2486 แล็งดอนได้เข้าประจำตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ โต๊ะการเมืองประจำประเทศไทย และได้รับตำแหน่งผู้ช่วยกิจการเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ในที่สุด

ในช่วงปีที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตในดินแดนสยาม มากาเร็ต แล็งดอน หลงไหลในเรื่องราวชีวิต ของ แอนนา เลียวโนเวนส์ หญิงชาวอังกฤษผู้เข้ามาเป็น “พระอาจารย์ฝรั่ง” ในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 และได้ตีพิมพ์หนังสือกึ่งนวนิยายในช่วงเวลาที่ใช้ชีวิต ในราชสำนักไทยในชื่อ Anna and The King of Siam ในปี 1944/2487 ซึ่งโด่งดังเป็นพลุแตก เป็นหนังสือขายดี ได้รับการดัดแปลงเป็นละครเพลง อันเป็นตำนานในชื่อ The King and I โดยริชาร์ด รอดเจอร์ และออสการ์แฮมเมอร์สไตน์ที่ 2 ส่วนภาพยนต์มิวสิคัลปี 1956/2499 ก็ยิ่งส่งให้เรื่องเล่าอันเปี่ยม สเน่ห์ของแหม่มแอนนามีชื่อเสียงไปทั่วโลก

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เคนเน็ธ แล็งดอนถูกส่งมายังเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เพื่อเปิดทำการสถานฑูตสหรัฐอีกครั้งหลังสงคราม เพื่อเตรียมพร้อมรับ การมาของฑูตสหรัฐคนใหม่ ชาร์ล ยอสต์ และเพื่อปฏิบัติภารกิจการเจรจาอัน ตึงเครียดระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับสถานะหลังสงครามของสยาม เคนเน็ธทำหน้าที่อยู่ที่นี่หลายเดือนจากปลายปี 1945/2488 จนกลางปี 1946/2489 และได้พบปะทำความรู้จักกับกับบุคคลสำคัญของไทยซึ่งเป็นกุญแจของเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่สับสนนั้นทั้งหมด

นั่นรวมถึง ในหลวงอานันทมหิดล ในวัย 20 ชันษา ซึ่งเสด็จกลับจากสวิตเซอร์แลนด์ ในระยะนั้น ด้วยเส้นสายชั้นดีและความเชี่ยวชาญภาษาไทย แล็งดอน จึงรับหน้าที่ หัวหน้าประจำหน่วยกิจการประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี สั่งงานจากโต๊ะทำงาน ในวอชิงตันรวมถึงเดินทางลงพื้นที่ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แดเนียล ไฟน์แมน ผู้เขียน A Special Relationship: The United States and Military Government in Thailand – ความสัมพันธ์พิเศษ: สหรัฐและรัฐบาลทหารไทย ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาท ของแล็งดอนเอาไว้ว่า “เป็นผู้เชี่ยวชาญสูงสุดเกี่ยวกับกิจการประเทศไทย จนถึงกลางทศวรรษ 1950” ผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษาอย่าง ศาสตราจารย์คาร์ค เนเฮอร์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับตัวแล็งดอนเอาไว้ว่า “คือบุคคลผู้เป็นจุดศูนย์กลาง แห่งความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ในช่วงปลายทศวรรษ 1940”

ปี 1976/2519 อันเป็นปีครบรอบ 50 ปีการแต่งงาน ของคู่ชีวิตเคนเน็ธและมากาเร็ต บุตรคนที่ 4 ของพวกเค้า เคนเน็ธ “คิป” แล็งดอน ได้ทำการอัดเสียงบันทึกคำ บอกเล่าประวัติของครอบครัวโดยคำสั่งของบิดามารดา จากคำบอกเล่าของ ตัวคิปเอง ชีวิตคู่ของบิดามารดาเต็มไปด้วยการ ทะเลาะเบาะแว้ง ทำให้โครงการบันทึกเสียงนี้ลากยาวไปถึง 13 ปีไปแล้วเสร็จในปี 1989 บันทึกความทรงจำที่มีความยาวถึง 90 ชั่วโมงของเคนเน็ธและมากาเร็ตนี้ ได้ถูกแปลงสู่ไฟล์ดิจิตอล และถูกนำขึ้นออนไลน์ โดย Wheaton College ในอิลลินอยส์ ในชื่อ “The Landon Chronicles” หรือบันทึกรอบครัวแล็งดอน อันเป็นหลักฐานซึ่งเต็มไปด้วยมนต์สเน่ห์ และถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เมื่อเทียบกับคุณค่าของตัวบันทึกอันเป็น แหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมแก่ใครก็ตามที่ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วง ทศวรรษ 1940 – 1950 ช่วงเวลาซึ่งเหตุการณ์สำคัญมากมายได้เกิดขึ้นในดินแดน แห่งนี้

ไฮไลต์สำคัญของบันทึกนี้อยู่ที่ชั่วโมงที่ 70 ในช่วงเนื้อหาที่ถูกตั้งชื่อ ฟังดูไม่มีพิษภัยว่า “Kenneth on partying in Bangkok” – เคนเน็ธร่วมงานเลี้ยงใน กรุงเทพ แล็งดอนอธิบายถึงฉากชีวิตสังคมในกรุงเทพในปี 1945/1946 ย้อนรำลึก ถึงความทรงจำของการเข้าร่วมงานเลี้ยง(และเต้นรำ)กับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิตติยากร(พระนามในเวลานั้น) ในวัยเยาว์ท่ามกลางความคาดหวังของ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล(พระนามในเวลานั้น) ผู้เป็นบิดา ผู้ซึ่งวาดหวังให้ธิดา ของตนขึ้นสู่ตำแหน่งราชินี ที่สำคัญที่สุด แล็งดอนได้กล่าวถึงการสวรรคต ของในหลวงอานันทมหิดล ในเดือนมิถุนายน 1946/2489 ระบุถึงกรณีสวรรคต ดังนี้ : “เขาถูกฆ่าโดยน้องชาย ไม่โดยตั้งใจก็โดยอุบัติเหตุ โดยปืนซึ่ง คนของ OSS ได้มอบให้พวกเค้าไว้เล่น” (he was “killed by his brother, either intentionally or accidentally, by the gun the OSS guy had given them to play with.”)

อีกหนึ่ง คลิป ที่น่าทึ่ง คือชั่วโมงที่ 69 แล็งดอนได้บรรยายถึงการ เข้าเฝ้าในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 ในความทรงจำของเขาคือ “ทรงตะกุกตะกัก ราวกับเด็กนักเรียน” ในระหว่างที่ทรงพยายามอ่านพระบรมราชโองการชิ้นหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนถวายในภาษาไทย แล็งดอนยังได้บรรยายว่า อเล็กซานเดอร์ แมคโดนัลด์ ในฐานะเจ้าหน้าที่ OSS ซึ่งภายหลังคือผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ได้มอบปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ โคลท์ .45 ให้กับในหลวงอานันท์ และเป็นปืนกระบอกซึ่งปลิดชีพพระองค์ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ ยังมีบันทึกในชั่วโมงที่ 76 กล่าวถึงการพบปะของเขากับ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ในกรุงเทพ ปี 1950/2493

ในชั่วโมงที่ 80 เคนเน็ธและมากาเร็ต อธิบาย ว่าจอมพลสฤษดิ์ ได้เดินทางมาร่วมดินเนอร์ที่บ้านของเขาในวอชิงตัน และได้ฉีกไก่งวงเคี้ยวอย่าง อเร็ดอร่อยขณะข้าวซึ่งตักเข้าปากกระเด็นกระดอน สฤษดิ์แสดงท่าทางประหลาดใจ อย่างชัดเจนเมื่อเค้าได้เห็นตัวอพอสซัมและตัวชิปมังค์(หนูและกระรอกขนาดเล็ก)

คลิปนี้จากชั่วโมงที่ 63 บันทึกว่า มากาเร็ตและเคนเน็ธ คุยกันถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพและการปฏิวัติ 2475

ในชั่วโมงที่ 78 มากาเร็ตและเค็นเน็ธ พูดคุย กันเกี่ยวกับการ ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Anna and The King of Siam หลังจาก ที่ได้มีการตีพิมพ์ในปี 1944/2487 และบ่นถึงสำนักพิมพ์ในไทยว่าไม่เคยจ่าย ค่าลิขสิทธิ์หนังสือเลย

 

2 thoughts on “กรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ จากบันทึกของ เคนเน็ธ แล็งดอน”

  1. O.S.S ได้มอบปืนให้พวกเขาไว้เล่น ? ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลนะ

  2. I like and agree with you Andrew.Now most of Thais say that no need for Thailand to have the King.Ok, in the past, the king lead the soldiers to fight enemies to keep our liberty. In such situations, the king should be praised and worshipped. My question is that “Has King Bhumipol ever lead soldiers to fight outside enemies? The answer is that “absolutely never.”Someone praised his theory about efficiency but I think he has done opposite to his advice. He has ventured in a lot of business affairs till he is the richest king in the world. Here is the king who lead his life on the philosophy of efficient thought. Most of royal projects take money from national budget, they are used just to “create pictures” to show the kindness of the king for Thaïs.
    I am in Bangkok and I want to tell the truth that nearly all of Bangkok dwellers
    are very annoyed whenever the cars of the royal families pass.All the roads are shut,
    no one can pass except the members of the family who came from the heaven.This is one of the cause to the serious traffic problems in Bangkok.
    Can Thailand survive without the king?”Absolutely Sure!” In fact, the existing of the king system detains the development of Thai societies a lot.Eighteen coups that happened in Thailand pushed us back to the poor and uncivilized country.All of the coups were backed up by the king just for prolonging his power
    Come to the moment now, forgiving is the thing that all Thais should do.Wait until his death arrives and then dismiss the king system, forget all of the bad dreams in the past. Let him meet his brother in the heaven or hell(should be here because he killed many Thais including his brother) and hurriedly jump up to globalization progress.

    Free Thai

Comments are closed.