ปริญญาแห่งการลวงโลก

(แปลจาก: Degrees of Deception)

บทความจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 เกี่ยวกับการขัดใจกันซึ่งถูกลืมเลือนมาเป็นเวลายาวนาน ระหว่างกลุ่มรอยัลลิสต์ไทยกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ได้เปิดเผยความจริงอย่างอึดอัดใจเกี่ยวกับกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช:

New York Times, August 1962

พสกนิกรชาวไทยต่างโกรธแค้นต่อการปฎิเสธการอนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์ให้กับพระมหากษัตริย์

บทความพิเศษจากหนังสือพิมพ์ นิวยอร์คไทมส์

เมืองซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย – 12 สิงหาคม – การปฎิเสธของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียที่จะอนุมัติปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ให้กับพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย ทำให้เกิดปฎิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงในคืนวันนี้จากสถานเอกอัครราชทูตไทยในเมืองแคนเบอรร่า (เมืองหลวง)

สถานเอกอัครราชทูตไทยกล่าวว่า การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยได้สร้าง “ความเจ็บช้ำน้ำใจต่อประชาชนชาวไทยเกินกว่าที่ทางมหาวิทยาลัยสามารถคาดการณ์มาก่อนได้”

เรื่อง “การมอบปริญญาบัตร” นี้ ได้สร้างความลำบากใจเป็นอย่างยิ่งให้กับรัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งกำลังเตรียมการตัอนรับการเสด็จเยือนอย่างเป็นทางการโดยกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชและราชินีสิริกิติ์ในวันที่ 26 สิงหาคมที่จะถึงนี้ พระองค์ทรงมีหมายกำหนดการที่จะไปเสด็จเยือนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในวันถัดไป

ประชาสัมพันธ์ได้แถลงว่า กฎของมหาวิทยาลัยขัดต่อการประสาทปริญญาบัตรให้กับองค์พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยกล่าวว่า  เนื่องจากองค์พระมหากษัตริย์เองทรงปราศจากคุณสมบัติทางด้านวิชาการที่เชื่อถือได้

ประชาชนชาวไทยได้ถูกทำให้เชื่อว่า ภายหลังจากการรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ หลังจากการยิงพี่ชายคือ กษัตริย์อานันทมหิดล ซึ่งเป็นโศกนาฎกรรมที่น่าอนาจใจ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จนิวัติกลับไปยังเมืองโลซานน์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อศึกษาต่อให้สำเร็จ ซึ่งท้ายที่สุด พระองค์ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยอย่างถาวรในปลายปี พ.ศ. 2494 ตามที่นายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งเป็นรอยัลลิสต์อาวุโสและ “คนของพระองค์” ผู้ห้าวหาญ กล่าวไว้ในคำนำของพระราชประวัติอย่างเป็นทางการ ซึ่งพิมพ์ครั้งล่าสุดในหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work:  (กษัตริย์ภูมิพล: ผลงานของชีวิต) ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทยได้ทรงสืบราชสมบัติในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงเสด็จนิวัติออกจากประเทศไทยหลังจากนั้นเป็นเวลาไม่นานนัก เพื่อทรงศึกษาต่อให้สำเร็จที่มหาวิทยาลัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

มันเป็นถ้อยคำลวงโลกเรื่องหนึ่งจากอีกหลายๆ เรื่อง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวโดยไม่สุจริตอย่างแนบเนียน เพราะความจริงแล้ว กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยเลย

พระองค์ได้หยุดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์เมื่อปี พ.ศ. 2491 หลังจากที่พระองค์ทรงประสบอุบัติเหตุจากรถพระที่นั่ง เฟียต 500 โทโพลิโน่ได้ชนกับรถบรรทุก และทำให้สูญเสียพระเนตรข้างหนึ่งของพระองค์ไป และพระองค์ไม่เคยสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีเลย ตามที่นาย จอห์น แสตนตั้น (John Stanton) เขียนไว้ในนิตยสารไลฟ์ (Life magazine) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ดังนี้:

เมื่อพระเชษฐาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคต มันเป็นความรู้สึกที่ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ควรจะเปลี่ยนสาขาการศึกษาของพระองค์จากสาขาสถาปัตยกรรม (architecture) ซึ่งพระองค์กำลังศึกษาอยู่ มาเป็นสาขากฎหมาย (Law) แทน กษัตริย์ภูมิพลเข้าศึกษาในสาขาวิชากฎหมายตามหน้าที่ของพระองค์ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ (Lausanne University) แต่เนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุ การศึกษาทำให้พระองค์ปวดพระเศียรซึ่งไม่สามารถทำให้กลับมาเหมือนเดิมได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงแสดงออกด้วยการเคร่งครัดกับเรื่องกฎหมายด้วยพิธีการเล็กๆ น้อยๆ อย่างถูกพระทัยในทุกๆ วันใหม่ นั่นคือ: พระองค์ทรงตื่นนอนจากที่บรรทมจากการปลุกของมหาดเล็กผู้หนึ่งจากทั้งหมดสองคน จากนั้นมหาดเล็กจะนำหนังสือกฎหมายเล่มหนึ่งมาถวายพร้อมกับกาแฟและขนมปังครัวซองต์   พระองค์ทรงมองที่หนังสือเพียงบางครั้งบางคราว ในเวลาอื่นๆ พระองค์ทรงใช้หนังสือนี้มาหนุนแทนหมอนรองพระเศียร และทรงผ่อนคลายพระวรกายด้วยการบรรทมเหม่อมอง ครุ่นคิดอยู่กับเพดาน ในช่วงที่พระองค์ทรงพักผ่อนอยู่นี้ โดยทั่วไปแล้ว พระราชดำริของพระองค์จะลอยละล่องไปกับดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ผู้ประพันธ์เพลงคลาสสิคชื่อนายโจฮาน เซบาสเตียน บาร์ค (Johann Sebastian Bach) พระองค์ทรงประกาศว่า นายบาร์คนี่แหละ ที่ “เป็นบิดาแห่งการดนตรีของพวกเราทุกคน”

หลังจากช่วงเวลาอันเหมาะสมต่อการสะท้อนภาพให้เห็น (ว่าแต่ละวันที่พระองค์ทรงอยู่ที่เมืองโลซานผ่านไปอย่างใดบ้าง) ว่า พระองค์ได้ตื่นจากบรรทมและเริ่มการศึกษาด้วยอุปกรณ์ที่เต็มไปด้วยเสียงอึกทึก (gadget-cluttered) อย่างไรบ้าง พระองค์ทรงยิ้มแย้มอยู่กับเปียโนหลังหนึ่งและออร์แกนอีกตัวหนึ่งที่ติดคู่กันมา, มีโต๊ะทำงาน, จอฉายภาพยนต์, เครื่องตัดต่อฟิลม์ภาพยนต์, วิทยุ, เครื่องบันทึกเสียงที่โยงสายอยู่กับไมโครโฟนและรูปจำลองของเรือรบต่างๆ ของราชนาวีไทย ท่ามกลางความสับสนนี้ กษัตริย์ภูมิพลทรงเฝ้าคอยจดหมายที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ จดหมายมีจำนวนน้อย จะเป็นการสรุปข่าวเกี่ยวกับสภาพการณ์ในประเทศจากพระปิตุลาของพระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร  ซึ่งดำรงตำแหน่งในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หรือเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องจ่าย จากนั้น กษัตริย์จะร่วมเสวยพระกระยาหารกลางวันกับพระราชมารดาของพระองค์ และทรงใช้เวลาช่วงกลางวัน ด้วยการถ่ายภาพต่างๆ ถ้าอากาศแจ่มใส หรือหากฝนตกจะอยู่ภายในห้องเพื่อพระราชนิพนธ์ดนตรีและเพลงต่างๆ ในช่วงเวลาเย็น พระองค์จะใช้เวลาด้วยการพูดคุยกับพระราชมารดา รวมทั้งอ่านนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องราวในกรุงเทพฯ และหนังสือเทคนิคการถ่ายภาพ บางครั้งพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินออกไปในบริเวณต่างๆ ยามค่ำคืน ประมาณหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ จะมีกลุ่มเด็กผู้ชายเข้ามาเยี่ยมพระองค์เพื่อร่วมเล่นดนตรีกัน

นายแสตนตั้นบรรยายว่า กษัตริย์ภูมิพล ทรงเหมือนกับคนหนุ่มคนหนึ่งที่ชอบอยู่เฉยๆและอ่อนแอ แต่อาจมีอีกเหตุผลหนึ่งที่เกี่ยวกับความเฉื่อยชาของพระองค์: คือ ความโศกเศร้าและซึมเศร้า กษัตริย์ภูมิพลได้ฆาตกรรมกษัตริย์อานันทมหิดล ซึ่งเป็นเชษฐาอันที่เป็นรักของพระองค์โดยอุบัติเหตุในพระบรมมหาราชวังใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2489  — เป็นเหตุการณ์เรื่องหนึ่งที่มีการปฎิเสธและถูกปกปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา – และโศกนาฎกรรมนั้น ได้หลอกหลอนพระองค์ แต่ก่อนนั้น พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ร่าเริงและรักสนุก เป็นที่ทราบกันดีว่า แทบจะไม่เห็นกษัตริย์ภูมิพล ยิ้มแย้มเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะเลย เป็นเวลา 66 ปีตั้งแต่กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกพระแสงปืนยิงจนสวรรคต

พฤติกรรมของพระองค์ในนครโลซานน์ในฐานะของนักศึกษาหนุ่มที่หัวใจสลายนััน ส่งผลให้กลายเป็นแบบฉบับตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์แสวงหาความสันโดษในการศึกษาของพระองค์เกือบทุกๆ วัน ด้วยการถอดแก้พวกอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆและฟังวิทยุ จากนั้นพระองค์ทรงหาวิธีการให้สบายพระทัยด้วยการเล่นดนตรีแจ๊สร่วมกับนักดนตรีคนอื่นๆ นี่เป็นแหล่งของความสำราญพระทัยจากอีกสองสามแห่งของพระองค์ที่เห็นได้ชัดเจน

ฉากที่เจ็บปวดมากที่สุดฉากหนึ่งในสารคดีของสถานีโทรทัศน์บีบีซี ชื่อว่า Soul of a Nation (ดวงใจของชาติ) ซึ่งสร้างโดยความร่วมมือกันอย่างชัดเจนกับฝ่ายวัง ออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2523 จับใจความในเรื่องความโดดเดี่ยวอย่างใหญ่หลวงของกษัตริย์ภูมิพลว่า พระองค์ทรงนั่งศึกษาอยู่ในพระราชวังแห่งหนึ่งของพระองค์ซึ่งตั้งอยู่ที่ภูเขาภูพานในจังหวัดหนึ่งของภาคอีสาน:

ความล้มเหลวของกษัตริย์ภูมิพลในการเรียนให้จบระดับปริญญาตรีจากเมืองโลซานน์นั้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียปฎิเสธที่จะอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์กับพระองค์เมื่อปี พ.ศ. 2505 และเนื้อหาที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์นั้น ได้กล่าวเป็นนัยอย่างถูกกาละเทศะเท่าที่จะทำได้

แต่มหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่ง – ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย – น้อยนักที่จะต่อต้าน ต่อการประสาทปริญญาบัตรระดับดุษฎีบัณฑิตเพื่อเทิดพระเกียรติของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2540 พระองค์ทรงได้รับการบันทึกสถิติโลก (World Record) ในด้านของบุคคลที่ไดัรับปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากกว่าผู้ใดๆในโลก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งคนสำคัญที่ได้รับเกียรติในเรื่องนี้ นั่นคือ คุณพ่อทีโอดอร์ เฮสเบอร์ก (Father Theodore Hesburgh)  ซึ่งเป็นอดีตประธานของมหาวิทยาลัยนอร์ทเธอร์ เดม (Notre Dame University) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมา คุณพ่อเฮสเบอร์กได้รับการบันทึกสถิติโลกกลับคืนมา หลังจากที่มีการให้ปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากกว่า 150 สาขา

จากบทความใน “บันทึกเหตุการณ์ของการศึกษาระดับสูง” (Chronicle of Higher Education) ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2552  คุณพ่อเฮสเบอร์ก ไม่ได้ยกย่องใดๆ ต่อคู่แข่งของเขาที่เป็นพระมหากษัตริย์:

คู่แข่งที่เทียบเท่ากับเขามากที่สุดในตำแหน่ง ราชาของปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์นั้น แท้จริงแล้วก็เป็นพระราชาจริงๆ: นั่นคือ กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2540 มีการอ้างอิงว่ากษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 136 สาขา ซึ่งแซงหน้าจำนวนที่คุณพ่อเฮสเบอร์กได้รับทั้งหมดในเวลานั้น ในส่วนของ คุณพ่อเฮสเบอร์กนั้น ไม่ได้ประทับใจกษัตริย์ภูมิพลเป็นอย่างยิ่ง “ปริญญาบัตรของพระองค์มาจากระดับมัธยมศึกษา และเป็นสถานที่เล็กๆ แทบไม่มีความสำคัญอะไรเลยในประเทศไทย” กล่าวโดยพระโรมันคาทอลิก  เขายังเสริมด้วยว่า “ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งความเพ้อฝัน”

ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียยังได้สร้างความเอือมระอาให้กับกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศไทย เพราะมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของ (host) เวปไชค์ นิว แมนเดล่า  (New Mandala) อันเป็นเลิศในการเขียนบล๊อก (blog) ซึ่งดำเนินการโดย ศาสตราจารย์ ดร. แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ (Andrew Walker) และ ศาสตราจารย์ ดร. นิโคลัส ฟาเรลลี่ย์ (Nicholas Farrelly)  เวปบล๊อกนี้เป็นฟอรั่ม (Forum) ภาษาอังกฤษออนไลน์ที่ดีที่สุดในการสนทนาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และล้มล้างนวนิยายเพ้อฝันที่เกี่ยวกับสถาบันฯ สำหรับบุคคลที่สนใจในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของประเทศไทย เวปไซด์นี้เป็นเวปไซด์ที่ดีมาก

ตามที่ รองศาสตราจารย์ ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ได้รายงานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2554 ว่า มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียและผู้ก่อตั้งเวปไซค์นิวแมนเดล่า ต้องเผชิญหน้ากับความกดดันอย่างมากจากทางการของประเทศไทย:

สถานทูตไทยได้ชี้แจงต่อสมาชิกบางท่านที่อยู่ในชุมชนของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียว่า พวกเขาไม่ควรคาดหวังความร่วมมือใดๆ จากองค์กรหรือจากตัวแทนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลของประเทศไทย เมื่อให้ข้อมูลว่า พวกเขามาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย นักศึกษาไทย ไม่ว่าจะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียหรือที่อื่นๆ ได้รับคำเตือนว่า จะต้องไม่ทำการติดต่อใดๆ กับเวปไซค์ นิวแมนเดล่าอย่างเด็ดขาด  ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเวปไซค์ นิวแมดเดล่าจะไม่ได้รับการต้อนรับจากประเทศไทย ยังมีรายงานเสริมว่า มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในศูนย์ไทยศึกษา (Thai studies center) ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ได้ระบุไว้ แต่เป็นเรื่องที่รู้กันอย่างชัดเจนว่า กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการวิพากย์วิจารณ์ในเวปนิว แมนเดล่านั้น จะต้องหยุดดำเนินการ  ทางมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียได้ปฎิเสธข้อเสนอนี้และมีรายงานว่า การสนับสนุนทางการเงินนั้น ได้ถูกส่งไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบอร์น (Melbourne University) แทน

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอ้างอิงในทางตรงข้าม มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวิชาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงยอมรับไม่ได้จากกลุ่มรอยัลลิสต์ของประเทศไทย

2 thoughts on “ปริญญาแห่งการลวงโลก”

  1. ๑. ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุขตรากตรำ และมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ทรงเป็นประมุขปกครองประเทศมาช้านาน ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนทั้งชาติพระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตในดวงใจของปวงประชาพระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทด้วยเศรษฐกิจพอเพียงร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น
    ๒. ข้าพระเจ้าจะทำความดีถวายแด่ในหลวงทุกประการและจะเดินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวงได้ทรงดำรัชไว้ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
    ๓. คงไม่รักใดเท่ากับรักที่ในหลวงทรงมีให้กับประชาชนของท่าน นอกเหนือจากรักของบิดา มารดา
    ๔. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย
    ๕. เราเป็นไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยพระบารมีของพ่อหลวง
    ๖. ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุ ยิ่งยืนนาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย
    ๗. จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายกลับกลายเป็นดิน ด้วยพระบารมีของทั้ง สองพระองค์
    ๘. ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข
    ๙. ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุ ยิ่งยืนนาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ
    ๙. Long Live The King ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพลานามัยแข็งแรง ขอให้สิ่งศักดิ์คุ้มครองพระองค์ อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงชนชาวไทยตลอดไป
    ๑๐. ความเสียหายของชาติจะบานปลาย ถ้าคนไทยขาดความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์

  2. ผมผ่านมาอ่าน มันจริงเหรอ – – ผมงงไปหมดละ แล้วรู้ได้ไงเนี่ย หลักฐานมีไหม

Comments are closed.